การฟอกหนังสัตว์เพื่อนำไปทำกระเป๋า
รู้หรือไม่ว่าหนังทุกชนิดที่นำมาทำกระเป๋านั้นต้องผ่านกรรมวิธีการฟอกหนังเพื่อเป็นการเปลี่ยนสภาพหนังดิบที่สามารถเน่าเปื่อยได้ให้เป็นหนังที่มีสภาพคงตัวกว่า ไม่เน่าเปื่อย มีความทนทานต่อสภาพอากาศและน้ำร้อนเพื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องหนังต่างๆ การรักษาสภาพหนังดิบไม่ให้เน่าเปื่อยจะต้องใช้สารเคมีบางชนิด เช่น ฝาด โครเมียม หรือสารเคมีอื่นๆที่ไปทำปฏิกิริยากับโปรตีน (คอลลาเจน) ในหนัง
กรรมวิธีการฟอกหนัง
การฟอกขั้นต้นด้วยโครม (Chrome Tanning) เป็นการฟอกโดยการเติมสารพวกโครม (Chrome) ลงไปทำให้หนังมีสภาพเป็น Fibre เมื่อนำไปตากแห้งจะทำให้หนังแข็งและมีสีเขียว ซึ่งหนังในขั้นตอนนี้จะเรียกว่า Wet Blue แล้วจึงนำไปผ่านกระบวนการอื่นต่อไป หนังชนิดนี้จะมีลักษณะนิ่ม มีความคงทนมากกว่า และมีความสามารถในการทนต่อแสงและความร้อนได้มากกว่าเหมาะกับกานนำไปผลิตเป็นกระเป๋า เสื้อ เบาะหุ้มเก้าอี้ รองเท้า เป็นต้น
การฟอกขั้นต้นด้วยการฟอกฝาด (Vegetable Tanning) เป็นการฟอกโดยการเติมสารเคมีที่สกัดได้จากพืชลงไป เช่น เปลือกไม้ยูคาลิปตัส เปลือกต้นแวคเคิล ต้นควีบราโอ เป็นต้น การผลิตด้วยวิธีนี้จะใช้เวลานานและมีต้นทุนสูงกว่าการฟอกด้วยวิธีแรก อาจจะใช้เวลาในการฟอกนานถึง 1-3 เดือน ถึงจะได้หนังฟอกฝาดคุณภาพสวยมาใช้ เนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการฟอกมีราคาแพงกว่าพวกสารโครม หนังที่ฟอกด้วยสารฝาดจะมีความแข็งเหมาะสำหรับการผลิตกระเป๋าทรง การทำพื้นรองเท้า เข็มขัด อะไหล่เครื่องจักร เป็นต้น แต่ข้อดีของหนังฟอกฝาดคือความสวยงามของหนังที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกทั้งยังไม่มีกลิ่นสารเคมีอีกด้วยหนังชนิดนี้เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการทำกระเป๋าหนังแฮนด์เมดมากที่สุด เพราะมีความเหนียวแน่นและมีสีที่สวย การฟอกประเภทนี้จะเป็นที่นิยมในประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ
ขั้นตอนการฟอกโดยไม่ใช้โครม (Chromium-free-tanning) เทคนิคการฟอกหนังนับว่าเป็นความลับเฉพาะของแต่ละโรงฟอกเพราะแต่ละที่ก็ย่อมมีเทคนิคในการผลิตของตัวเองเสมอ ซึ่งตรงนี้จะไม่สามารถเจาะลึกลงไปได้แต่หนังที่ฟอกแล้วได้รับความนิยมนำมาผลิตเป็นกระเป๋าหนังมีเพียงไม่กี่ชนิด เช่น
หนังอัดลายช้าง
หนังนิ่ม
หนัง CCO
หนังนูบัค
หนังออยปั่น
หนังชามัวร์
หนังเครซี่ฮอส
หนังฟอกฝาด
กระเป๋าหนังฟอกฝาดราคาจะค่อนข้างสูงขึ้นมาเล็กน้อยเนื่องจากหนัง Full grain leather ที่นำมาทำหนังฟอกฝาดนั้นจำเป็นที่จะต้องเลือกแผ่นหนังที่มีร่องรอยน้อยที่สุดหรือเกือบจะไม่มีรอยเลย เนื่องจากหลังจากการฟอกฝาดแล้วจะปรากฏร่องรอยของผิวหนังสัตว์อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหนังสัตว์ที่มีร่องรอยแบบนี้จะเป็นส่วนที่นำไปฟอกและย้อมสีเพื่อปกปิดร่องรอยบางส่วน